วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สสปน.และสื่อมวลชนโลกเข้าเยี่ยมชมอาคาร โอเชี่ยนทาวเวอร์



สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) สสปน.
และคณะตัวแทนสื่อมวลชนจากทั่วโลก
เข้าเยี่ยมชมอาคาร “โอเชี่ยนทาวเวอร์” อมารีออคิดรีสอร์ทแอนด์ทาวเวอร์ พัทยา

เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) สสปน. นำโดย
คุณสกรรณ์ โกวิทวานิช ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ นำคณะ
ตัวแทนสื่อมวลชนจากทั่วโลกทั้งสิ้น 20 ท่านเข้าเยี่ยมชมอาคาร “โอเชี่ยนทาวเวอร์” อมารีออคิด
รีสอร์ทแอนด์ทาวเวอร์ โดยมีมร. เดวิด คัมมิ่ง ผู้จัดการทั่วไปให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น

หมายเหตุบรรณาธิการ
อมารีออคิดรีสอร์ทแอนด์ทาวเวอร์ตั้งอยู่บริเวณชายหาดพัทยาเหนือ โรงแรมให้บริการห้องพักหรูหราจำนวนทั้งสิ้น 525 ห้อง เป็นห้องพักจำนวน 297 ห้อง ณ อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ ซึ่งรวมห้องชุดและห้องพักบนชั้นผู้บริหาร
(ฮอร์ไรซันคลับ) พร้อมระเบียงส่วนตัว และที่อาคารการ์เด้นวิงให้บริการห้องพักและห้องชุด 228 ห้อง ห้องพักส่วนใหญ่มีระเบียงส่วนตัว โรงแรมยังเพียบพร้อมด้วยบริการห้องอาหารหลากหลาย รวมทั้งห้องอาหารและบาร์มันตรา พร้อมบริการห้องประชุมขนาดใหญ่และเล็ก รวมถึงอรันดาบอลรูมอันทันสมัย นอกจากนั้นยังมีบริการเสริมสร้างความสุข ความเพลิดเพลินต่างๆ เช่น สระว่ายน้ำกลางแจ้งสองแห่ง อีกทั้งยังตั้งอยู่ไม่ไกลจากศูนย์กีฬาทางน้ำและสนามกอล์ฟอีกด้วย

หากท่านต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมหรือรูปภาพความละเอียดสูงโปรดกรุณาติดต่อได้ที่
ธนินช์รัฐ กลิ่นหอม / ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์
อีเมล์: dpr@orchid.amari.com
นริสา นิติกาล / เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
อีเมล์: pr@orchid.amari.com
อมารีออคิดรีสอร์ทแอนด์ทาวเวอร์
โทรศัพท์ +66 (0) 3841 8418
ถนนเลียบชายหาดพัทยาเหนือ
โทรสาร +66 (0) 3841 8410
ชลบุรี 20150 เว็บไซต์: www.amari.com

สสปน.รุกโรดโชว์ต่างประเทศหวังดึงงานเทรดมาลงเมืองไทย




สสปน.รุกโรดโชว์ต่างประเทศหวังดึงงานเทรดมาลงเมืองไทย


โดย บิสิเนสไทย [25-8-2005]

สสปน. เร่งสปีดมีก๊อก 2 หวังเร่งแรงแซงทางโค้ง ก่อนสิ้นปีอุตฯ ไมซ์ 7 แสนคน ฝันนั้นเป็นจริงแน่ อัดฉีดทีมงานตามตื๊อชนิดหายใจ รดต้นคอประเทศเป้าหมายไปยังผู้มีอำนาจตัดสินใจ เดินทางออก นอกบ้านเจาะตลาดย่านเอเชีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น โดยมีประเทศในแถบยุโรปเป็นตัวช่วยเสริมแรง จับตลาดองค์กรการท่องเที่ยวเชิงรางวัล สู่ตลาด ออโตโมทีฟ, ยา, ประกัน ในทุกประเทศเป้าหมายที่รุกคืบเข้าไปเปิดตัว

นางมาลินีย์ กิตะพาณิชย์ ผู้อำนวย- การฝ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและการประชุม สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. เปิดเผยถึงแผนงานในครึ่งปีหลังว่า จะรุกหนักตลาดในแถบเอเชีย เน้นไปยังประเทศจีนและอินเดีย ขณะที่ตลาดทั้ง M และ I จากวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันและสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่มีความนิ่ง ส่งผลกระทบให้บริษัทและองค์กรภายในประเทศควบคุมงบประมาณการใช้จ่าย จัดการประชุมในเชิงการท่องเที่ยวกลุ่ม เล็กลงและภายในช่วงเวลาไม่กี่วัน

สำหรับตัวเลขตลาดไมซ์ในปี 2547 ที่ผ่านมา พบว่ากลุ่มเป้าหมายที่เดินทางเข้าร่วมประชุมใน อุตฯ ไมซ์ทั้งระบบมีจำนวนทั้งสิ้น 400,000 คน โดยตั้งเป้าในปี 2548 ไว้ที่จำนวน 700,000 คน ในส่วนของตลาด M, I ในช่วง ครึ่งปีหลัง ทางสสปน.ยังมีงานเทรดโชว์อีก 2 งาน ทั้งในฝั่งอเมริกาและยุโรป ที่จะต้องเดินทางออกเป้าหมายที่มีอำนาจในการตัดสินใจ เพื่อเตรียมการที่จะดึงงานดังกล่าวเข้ามาจัดขึ้นภายในประเทศไทยในครั้งต่อไป

“ทั้ง 2 งาน ที่สสปน.เตรียมที่จะ เข้าไปคือ งาน Motivation Show หรือ ITME ที่ชิคาโก สหรัฐอเมริกา และงาน EIBTM ที่บาเซโลนา สเปน เป็นงาน The Global Meetings & Incentive Exhibition ซึ่งเป็นตลาดใหม่ที่สสปน.ยังไม่เคยเข้าไปทำตลาด การออกไปโรดโชว์ในครั้งนี้ สสปน.จะไปกันเป็นทีมพบกับผู้ซื้อโดยตรงที่เรียกว่า Meeting Planner”

นางมาลินีย์ ยังกล่าวถึงแผนการทำ ตลาดในประเทศญี่ปุ่นในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า จากการเดินทางไปเปิดตลาดในประเทศญี่ปุ่น ผลเป็นที่น่าพอใจแต่ทางสสปน.จะต้องเดินทางกลับไปเจรจาอีกครั้งในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ เพราะช่วงเวลาในการตัดสินใจของชาวญี่ปุ่นจะอยู่ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนของทุกปี

“ตลาด M, I จะเน้นประเทศที่อยู่ รอบๆ เมืองไทย ซึ่งมีอยู่ 5 ประเทศ ที่ต้องเร่งเข้าไปทำตลาดเพื่อดึงคนเข้ามา ประกอบด้วย จีน, อินเดีย, เกาหลี, ญี่ปุ่น และไต้หวัน ซึ่งจะมีความถี่ที่จะเข้ามาประชุมในเมืองไทยสูงกว่า เมื่อเทียบกับประเทศในแถบยุโรป จะมีการตัดสินใจที่นานเพราะอยู่ไกล แต่ถ้าเพิ่มความถี่ออกไปพบลูกค้า ไม่ใช่ไปครั้งเดียวแล้วหาย และเน้นไปยังตลาดองค์กรทุกประเภท เช่น กลุ่มออโตโมทีฟ, ยา, ประกัน กลุ่มเป้า-หมายก็คือดีลเลอร์ ซึ่งองค์กรเหล่านี้จะมีการท่องเที่ยวเชิงรางวัลจัดให้กับพนักงานที่นำความสำเร็จมาสู่องค์กรทุกปี”

นอกจากนี้ สสปน.ยังให้การสนับสนุน การจัดประชุมและการจัดงานมอบรางวัลให้กับนักขายมือทอง ของวงการธุรกิจการเงินและการประกันชีวิตทั่วโลกของจีน หรือ The Annual International Dragon Award (IDA) โดยการสนับสนุนจากบริษัทไอเอ็มเอ็ม อินเตอร์เนชั่นแนล เจ้าภาพในงานครั้งนี้ ซึ่งจะมีผู้เข้าร่วมในงาน 2,200 คน ที่จังหวัดเชียงใหม่ในช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา ณ ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ คาดว่าผลการดำเนินการในครั้งนี้ จะมีเงินหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท

นายทรงวิทย์ อิทธิพัฒนากุล นายก- สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเชียงใหม่ กล่าวว่า การประชุมและการจัดงานมอบรางวัลให้กับนักขายมือทอง ของวงการธุรกิจการเงินและการประกันชีวิตทั่วโลกของจีน หรือ (IDA) ขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่นี้ คาดว่าผู้เข้าร่วมประชุมในลักษณะของการท่องเที่ยวเชิงรางวัล (Incentive) จะมีการใช้จ่ายต่อหัวประมาณ 3,100 บาท/คน/วัน และหากมีการเปิดเส้นทางบินตรงจากกลุ่มเป้าหมายประเทศจีนบินตรงเข้าสู่จังหวัดเชียงใหม่มากขึ้น อย่างเช่น เซี่ยงไฮ้ กวางเจา ก็จะเป็นการเปิดประตูสู่การแหล่งท่องเที่ยวในแถบภาคเหนือของไทยได้ในอีกระดับหนึ่ง

“ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้มีผู้บริหาร ระดับซีอีโอมากกว่า 100 บริษัท ซึ่งมีอำนาจการตัดสินใจที่จะพาทีมงานของเขาเดินทางท่องเที่ยวในเชิงรางวัล หากทั้ง 100 บริษัท ภายใน 5 ปี เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเฉลี่ยปีละ 20 บริษัท พร้อมกับพนักงานบริษัทละ 500-1,000 คน เป็นอย่างต่ำ ก็จะเกิดปริมาณเงินหมุนเวียนทางการท่องเที่ยว แต่เชียงใหม่ยังไม่มีศูนย์-ประชุมที่รองรับปริมาณคนเกิน 2,500 คน แต่ในอนาคตได้มีการเตรียมสถานที่เพื่อสร้างเป็นศูนย์ประชุมซึ่งอยู่ใกล้กับสนามกีฬา 700 ปี”


Resource:http://www.businessthai.co.th/bt/content.php?data=409380_Marketing

เมื่อเจ้าหญิงแห่งท้องทะเลต้องหาปราสาทใหม่




เมื่อเจ้าหญิงแห่งท้องทะเลต้องหาปราสาทใหม่

โดย บิสิเนสไทย [25-8-2005]

ธุรกิจเรือสำราญ “โอเชี่ยน ปริ้นเซส” หรือ เจ้าหญิงแห่งท้องทะเล กำลังตามหาปราสาทแห่งใหม่ ด้วยการปรับองค์กรรับความเสี่ยง เดิมล่องทะเลทั้งอ่าวไทยและอันดามัน ปีนี้หันมาล่องอ่าวไทยอย่างเดียว แก้วิกฤตอันดามัน ขานรับนโยบายรัฐ โครงการริเวียร่า หวังพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส อาศัยข้อได้เปรียบเหลือเพียงเจ้าเดียวในเมืองไทย หลังจากที่อันดามัน ปริ๊นเซส หรือ “สตาร์ครุยซ์” ปิดกิจการไป


“บิสิเนสไทย” ได้มีโอกาสได้สัมภาษณ์ นายอลงกช วิสัยจร รองผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัทโอเชี่ยน ปริ้นเซส กรุ๊ป จำกัด ถึงแนวทางและทิศทางการตลาด หลังจากที่ อันดามัน ปริ๊นเซสคู่แข่งในตลาดล่องเรือสำราญ ได้ปิดกิจการไปก่อนหน้านี้เนื่องจากประสบภาวะขาดทุน

ทุกวันนี้ โอเชี่ยน ปริ้นเซส โดนสถานการณ์แวดล้อมรุมเร้า ทั้งราคาน้ำมัน ปัจจัยหลักของต้นทุนค่าใช้จ่าย กำลังซื้อชะลอและความหวาดกลัวเรื่องเที่ยวทางทะเล แต่อันดามัน ปริ๊นเซสยังยืนหยัดที่จะเดินหน้าต่อกับการท่องเที่ยวทางทะเล เพราะมองว่าธุรกิจยังมีช่องว่างที่จะก้าวต่อไปได้อีก โดยเฉพาะลูกค้าองค์กรหรืออินเซ็นทีฟ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่อคนต่อหัวค่อนข้างสูง

ปรับเส้นทาง-ระบบการจัดการ
หลังจากเกิดวิกฤตสึนามิเจ้าหญิงแห่งท้องทะเลได้ปรับตัวทางด้านธุรกิจ ด้วยการปรับเปลี่ยนด้านเส้นทางจากเดิม เดินเรือระยะไกลไปถึง เกาะสมุย เกาะพงัน มาเป็นไกลสุด อยู่ที่ทะเลจังหวัดระยอง ลดความถี่ในการเดินเรือไป จากเดิมเดินเรือ 4 เที่ยวต่อเดือน ปัจจุบันเหลือที่ 1 เที่ยวต่อเดือน

“เชื่อว่าช่วงปลายปีหลังจากที่ลูกค้าบุ๊กกิ้งเข้ามาคาดว่าจะกลับสู่ช่วงปกติ อีกทั้งเป็นช่วงไฮซีซัน ทั้งนี้ระบบการจัดการภายในเราให้พนักงาน 300 คน ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถทำงานแทนกันได้ในภาวะฉุกเฉิน นอกจากนี้ให้เน้นการบริการเป็นหัวใจสำคัญ “รองผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัทโอเชี่ยน ปริ้นเซส กล่าวอย่างมั่นใจ

เบนเข็มไปอ่าวไทย
อลงกชบอกว่า ธุรกิจในครึ่งปีหลัง จะต้องวางแผนใหม่ ด้วยการเดินเรืออ่าวไทยถึงสิ้นปี ส่วนฤดูกาลหน้าค่อยมาพิจารณาอีกทีกับเรื่องการกลับไปเดินเรือฝั่งอันดามันเช่นเดิม นอกจากนี้การตลาดนั้นจะออกแพ็กเกจ 1-2 ทริปต่อเดือนเพื่อกระตุ้น ส่วนระยะยาวเตรียมการตลาดรองรับโครงการภาครัฐ ริเวียร่า และการส่งเสริมการท่องเที่ยวยั่งยืน อาทิ เกาะช้าง จังหวัดตราด

“เราเน้นการบริการแบบไทย ซึ่งตรงนี้ถือเป็นการได้เปรียบระยะยาวสำหรับการแข่งขันในอนาคต การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก (Brand Awareness) ค่าใช้จ่ายในการเดินเรือเริ่มต้นที่ 5,000 บาทต่อคน ซึ่งแพ็กเกจประกอบด้วย ที่พัก อาหาร กิจกรรมสันทนาการ 3 วัน 2 คืน และ 4 วัน 3 คืน ทางบริษัทก็มีตอบสนองความต้องการลูกค้า แม้จะลดระยะทางลงแต่หันมาให้ความสำคัญกับกิจกรรมและการบริการเพิ่มเติม เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่า คุ้มค่า

สิ่งที่ปรับเส้นทางหันมาเน้นอ่าวไทย จุดเด่นคือ ลูกค้าสามารถไปขึ้นเรือได้ที่ท่าเรือคลองเตย ทำให้สะดวกด้านค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับภูเก็ตซึ่งลูกค้าต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง อัตราการเติบโตเดิม บริษัทตั้งเป้าไว้ว่าแต่ละไตรมาสจะโต 50% มาถึงตอนนี้ทำได้คือการประคองตัวทั้งปี และการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายรอบด้าน

ให้มั่นใจเรื่องความปลอดภัย
“การสร้างการรับรู้ว่า ในเมืองไทย ยังมีเรือสำราญดำเนินการอยู่ รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัย การบริการ เนื่องจาก ประชาชนส่วนใหญ่ยังเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าการท่องเที่ยวทางทะเลไม่ปลอดภัยและหวาดกลัวกันอยู่ ถือเป็นโจทย์หนักที่เราต้องพยายาม” นายอลงกชกล่าว

กิจกรรมการตลาดช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม นี้จะเป็นโปรแกรมเที่ยวทะเล อาทิ เกาะช้าง เกาะกูด จังหวัดตราด ส่วนเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม เริ่มเดินเรือตามโครงการริเวียร่า หรือชายฝั่งตะวันออกอ่าวไทย

สำหรับงบการตลาดที่วางเอาไว้ 20%ของยอดขาย ได้ใช้ด้านวางแผนสื่อ (Media Planning) เน้นหนักไปทางสื่อเฉพาะทาง เพื่อเข้าถึงลูกค้าเป้าหมาย รวมไปถึงการโปรโมตผ่านเว็บไซต์ทางอินเทอร์เน็ต

เน้นเจาะอินบาวด์
แผนปี 2549 บริษัทวางแผนจะเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาเที่ยว หรืออินบาวน์ให้มากขึ้น โดยจะประสาน- งานกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักต่างประเทศต่างๆ ในการโรดโชว์ การแนะนำ ประชาสัมพันธ์ให้นักท่อง- เที่ยวรู้จักเรา

ถือเป็นการขยายธุรกิจต่อยอดจาก การตลาดในประเทศ (Domestic) ตั้งเป้าว่าสัดส่วนอินบาวด์จะเป็น 25% ของลูกค้าทั้งหมด ทั้งนี้โครงการในปี 2549 ชื่อ Air Sea Land หรือการท่องเที่ยวครบวงจร ทั้งทางอากาศ ทางบกและทางเรือ จะมีการจับมือกับพันธมิตร สายการบิน โรงแรมที่พัก และบริษัททัวร์ ระหว่างนี้กำลังเจรจาเงื่อนไข รองรับการท่องเที่ยวฝั่งทะเลอันดามันที่ปีหน้าเชื่อว่าจะสามารถกลับมาสู่ภาวะปกติได้

ก่อนเกิดเหตุการณ์สึนามิ กลุ่มลูกค้า จากต่างประเทศ อาทิ เกาหลี ทัวร์ฮันนี-มูน และออสเตรเลียที่มากับเครื่องบินเช่าเหมาลำหรือชาร์เตอร์ไฟลต์ ได้จองทัวร์เอาไว้ หลังจากเกิดเหตุการณ์ได้ยกเลิกไป ซึ่งขณะนี้ได้เจรจากันใหม่ ซึ่งทัวร์ทั้ง 2 ประเทศ ตกลงว่าจะมาเที่ยวทางเรืออีกครั้ง คาดว่าจะเป็นช่วงต้นปีหน้า

ปัจจัยผลกระทบนอกจากราคาน้ำมัน แล้ว ภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อย่าง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภัยก่อการร้ายเหล่านี้ ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความกังวล หวาดกลัว ดังนั้นที่แก้ได้ตอนนี้คือ เรื่องการประชาสัมพันธ์ทั้งในและต่าง-ประเทศในการเรียกความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาเช่นเดิม

กลยุทธ์ยุคตั้งรับ
รศ.ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหา-วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวให้ความเห็นว่า ปัจจุบันตนมองว่าธุรกิจเรือสำราญอยู่ในภาวะเริ่มอิ่มตัว เนื่องจากกิจกรรมและการตลาดไม่หวือหวา ไม่มีความแปลกใหม่ นอกจากนี้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังไม่นิยมเท่าที่ควร

สำหรับ โอเชี่ยน ปริ้นเซส นั้นแม้ขณะนี้ไม่มีคู่แข่ง ผูกขาดเพียงรายเดียวในตลาด ก็ต้องเข้าสู่ยุคการปรับตัว เนื่องจากปัจจัยสภาวะแวดล้อมบีบบังคับ อาทิ ราคาน้ำมัน อำนาจซื้อผู้บริโภคที่ชะลอ ไม่เพียงคนไทยเท่านั้น แต่แนวโน้มเกิดขึ้นทั่วโลก ความมั่นใจของประชาชน ทั้งนี้องค์กรส่วนใหญ่เน้นการประหยัดงบ

ทางออกของธุรกิจเรือสำราญที่อยู่ใน ภาวะตั้งรับสถานการณ์ที่บีบคั้น มองว่าถ้าหันมาทำการตลาดเชิงรุกคงยาก ดังนั้นการโฟกัส (Focus) ทั้งกลุ่มเป้าหมายและเลือกกิจกรรมให้สามารถเข้าถึงและวัดผลได้ ตามด้วย Cost Leadership เป็นการประหยัดต้นทุนและคัดสรรเรื่องกิจกรรมและงบ รวมไปถึงการวางแผนค่าใช้จ่ายด้วย


Resource:http://www.businessthai.co.th/bt/content.php?data=409379_Marketing

เซ็นทรัลพัฒนาวายคลับ CRM-ฝังแบรนด์ เจาะตลาดวัยรุ่น









เซ็นทรัลพัฒนาวายคลับ CRM-ฝังแบรนด์ เจาะตลาดวัยรุ่น

โดย [22-9-2003]

เซ็นทรัล พัฒนาวายคลับ มุ่งสร้างความสัมพันธ์กับฐานลูกค้ากลุ่มอายุ 13-22 ปี ต่อยอดฐานลูกค้าหลัก ซึ่งเป็นกลุ่มครอบครัว เร่งพัฒนากิจกรรมการตลาดตรงถึงกลุ่มเป้าหมายยังสถานศึกษา หวังสร้างเครือข่ายสมาชิกเป็น 30,000 ราย ในสิ้นปี 2546 เพื่อผลของความสัมพันธ์ที่ดีและความภักดีต่อแบรนด์ในอนาคต

นายโยธิน ธรรมจำรัส ผู้อำนวยการ ฝ่ายการตลาดบริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด เปิดเผยว่า แนวคิดเริ่มต้นของการพัฒนาโครงการ วายคลับ มาจากการที่เซ็นทรัลได้ทำงานในโครงการเซ็นทรัลบัณฑิตน้อย สำหรับกลุ่มน้องๆ ระดับอนุบาล เป็นที่รู้จักในตลาด และได้หยุดการทำงานของโครงการไประยะหนึ่ง และหันมาทำโครงการเซ็นทรัลคาร์ดแทน ทำให้ฐานลูกค้ามีช่องว่าง ก่อให้เกิดการสื่อสารที่ไม่ชัดเจนและครอบคลุม

วายคลับ เริ่มพัฒนาและออกบัตรให้กับ ลูกค้าในเดือนมิถุนายน 2546 ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 10,000 ราย ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีสมาชิกให้ได้ 30,000 ราย ในสิ้นปี 2546 โดยเกณฑ์การเข้าเป็นสมาชิก จะอยู่ในช่วงอายุ 13-22 ปี มีค่าใช้จ่ายในการสมัคร 200 บาท แต่จะได้บัตรกำนัล มูลค่า 200 บาท หรือซื้อของภายในวงเงิน 600 บาท ก็สามารถยื่นใบสมัครได้

ปัจจุบันใช้อยู่ใน เซ็นทรัลทั้ง 6 สาขา ได้แก่ ลาดพร้าว ปิ่นเกล้า บางนา ชิดลม พระราม 3 และสาขารังสิต โดยสาขาลาดพร้าวเป็นสาขาที่มียอดสมาชิกสูงสุด รองลงมาคือ สาขาปิ่นเกล้า และชิดลม

“เรากำลังพัฒนาลอยัลตี้โปรแกรมใน รูปแบบ กิจกรรมที่ทำกับกลุ่มสมาชิกโดยตรงอาทิ การจัดกิจกรรมเรดคลับ, มินิคอนเสิร์ต การจัดทำจดหมายข่ายส่งไปยังสมาชิก ทุก 2 เดือน มีเนื้อหาสาระที่กลุ่มวัยรุ่นให้ความสนใจ ทั้งดนตรี ภาพยนตร์ และทุกเรื่องที่เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ของวัยรุ่น”

หากมองในภาพรวมของเซ็นทรัล แม้ว่าจะไม่ใช้ห้างสรรพสินค้าสำหรับวัยรุ่นโดยตรง เพราะกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มครอบครัว ดังนั้นการทำกิจกรรมการตลาดและสื่อข่าวสารต่างๆ จึงมุ่งไปที่กลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม

บัตรเซ็นทรัล วาย คลับ (Central Y Club) ลักษณะของบัตรนี้จะมีการดีไซน์ที่ต่างจาก เซ็นทรัลคาร์ด ทั่วไป เช่น การดีไซน์ลวดลายบนบัตรและสีสันโทนสีแดงและสีส้ม มาทำเป็นบัตร 3 มิติ เพื่อสร้างความแปลกใหม่และน่าใช้ ทั้งนี้ เงื่อนไขในการเป็นสมาชิกผู้สมัครจำกัดว่าต้องมีอายุระหว่าง 13-22 ปีเท่านั้น ในขณะนี้ได้ทดลองในเฉพาะสาขา คือ เซ็นทรัล ชิดลม, ลาดพร้าว, บางนา และปิ่นเกล้า ซึ่งเป็นย่านที่มีกำลังซื้อสูง และเป็นสถานที่วัยรุ่นมาพบปะสังสรรค์กันจำนวนมาก

นอกจากนี้สิทธิ์ประโยชน์ในการใช้บัตร สามารถใช้เป็นส่วนลด 5% เฉพาะสินค้าราคาปกติ ที่เซ็นทรัลทุกสาขา ซึ่งร้านที่เข้าร่วมรายการนี้มี ซีนโซน, ซูเปอร์สปอร์ต และร้านบีทูเอส อีกทั้งยังเป็นการติดต่อกับลูกค้ากลุ่มนี้เรื่อยๆ เนื่องจากเซ็นทรัลจะจัดกิจกรรมทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง เช่น รายการพรีวิว เดย์ (Preview Day) รวมไปถึงข่าวสารประเภทไดเร็กต์เมลล์ ชื่อว่า Teens@Central Newsletter ทุกๆ 2 เดือน ที่สำคัญคือ บัตรนี้สามารถใช้ร่วมกับเงินสดหรือบัตรเซ็นทรัลคาร์ด และบัตรเครดิต อื่นๆ ได้

การให้ความสำคัญกับกลุ่มวัยรุ่นของ บริษัท ได้แก่ จัดโซนนิ่งสินค้าสำหรับวัยทีนขึ้นมา ชื่อว่า ซีนโซน (ZEENZONE) เป็นแหล่งที่รวมดีไซน์และสินค้าแฟชั่น อาทิเช่น เสื้อผ้าและรองเท้า ซึ่งตั้งแต่เริ่มจัดรายการส่งเสริมการขายนี้ที่ผ่านมาได้รับการตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายดีพอสมควร และมีการบอกต่อในการชักชวนมาสมัครกันมากขึ้น

นางศรีกัญญา มงคลศิริ กรรมการ ผู้จัดการบริษัท ชูโอ เซ็นโก (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากการสำรวจกลุ่มวัยรุ่นเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงมาก ประมาณ 20,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของคนรอบข้างสูง และที่ผ่านมายังไม่มีกลุ่มสินค้าใดที่มีความชัดชนในการทำตลาดตรงถึงลูกค้ากลุ่มนี้

สิ่งที่ดีของการทำตลาดกับคนวัยนี้ คือ เป็นการเริ่มต้นปลูกฝังแบรนด์กับกลุ่มนี้ เนื่องจากเป็นวัยที่รับเรื่องแบรนด์เร็วมาก และฝังใจกับแบรนด์ เมื่อเติบโตขึ้นในอนาคตจะให้ความสำคัญกับแบรนด์ที่รู้จักก่อน จึงเป็นโอกาสของสินค้าที่จะทำตลาดใน ระยะยาว

Resource:http://www.businessthai.co.th/bt/content.php?data=406030_Marketing

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

“พลัง 3C” กลยุทธ์มัดใจลูกค้าในศตวรรษที่ 21


ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่องจาก : catadmin.cattelecom.com



“พลัง 3C” กลยุทธ์มัดใจลูกค้าในศตวรรษที่ 21

MMP Marketing โดย ธนประเสริฐ สมิทธิเนตย์

“พลัง 3C” กลยุทธ์มัดใจลูกค้าในศตวรรษที่ 21

ในยุคการแข่งขันศตวรรษที่ 21 นักการตลาดหันมาให้ความสำคัญกับลูกค้าโดยการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) เพราะลูกค้ามีอำนาจในความเติบโตและความตายของแบรนด์ได้อย่างสูง มีการวิจัยในต่างประเทศเคยรายงานไว้ว่า ลูกค้าที่ไม่พอใจในสินค้าหรือบริการ 1 คน จะบอกต่อกับเพื่อนอีก 11 คน ซึ่งเพื่อนรักอีก 11 คนนี้ยังช่วยพูดต่อกับคนใกล้ตัวเพิ่มอีก 5 คน นั่นคือ จาก 1 คน มีคนรับรู้ความไม่พอใจอีกกว่า 70 คน ทำให้นักการตลาดยุคใหม่หันมาให้ความสนใจกับ 3C ที่ทรงพลัง อันได้แก่

• CRM (Customer Relationship Management)

• CEM (Customer Experience Management)

• CSR (Corporate Social Responsibility)

ดังคำกล่าวของปรามาจารย์ด้านการตลาดระดับโลก Philip Kotler ที่ว่า ต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่ แพงกว่าต้นทุนในการรักษาลูกค้าเก่าถึง 5 เท่า โดยเฉพาะในสถานการณ์เศรษฐกิจของบ้านเราที่กำลังซบเซา และการเมืองยังขาดเสถียรภาพ ทำให้ธุรกิจในปัจจุบันต่างก็พยายามเอาใจใส่ดูแลลูกค้าดีขึ้น เพื่อป้องกันการเปลี่ยนไปใช้สินค้าของคู่แข่ง (Brand Switching) นั่นเอง ดังนั้น CRM หรือการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบัน การใช้กลยุทธ์ Product Differentiation ทำได้ยากกว่าแต่ก่อน ดังนั้น Relationship จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะความสัมพันธ์ที่ดี ทำให้ลูกค้า

ในยุค Digital การตลาดจึงเปลี่ยนจาก Mass Market มาเป็น Niche Market และกลายเป็น Individual Marketing ในที่สุด โดยให้ความสำคัญกับ One to One หรือ Customer Centric คือ ต้องคิดจากลูกค้าเข้ามา อะไรก็ตามที่ทำให้ลูกค้ามีความสุขต้องทำไว้ก่อน

แม้จะดูแลใส่ใจลูกค้าเป็นอย่างดีก็คงยังไม่เพียงพอ องค์กรหลายแห่งเริ่มนำแนวความคิด CEM หรือ Customer Experience Management มาเสริมความ CEM เป็นเครื่องมือที่มุ่งสู่ความรู้สึกของลูกค้า ในการสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจ ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยลูกค้าสามารถสัมผัสกับจุดติดต่อ (Contact Points) ต่างๆ และได้รับรู้ถึงความรู้สึกเชิงบวกที่สร้างความทรงจำดีๆ จนเกิดการซื้อซ้ำ กระทั่งมีการบอกต่อ

ในอดีตการสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน (Competitive Advantage) มักใช้กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Strategic Differentiated Marketing) โดยในยุค 1980 จะสร้างความแตกต่างด้วยคุณภาพ (Quality) แต่พอยุค 1990 หันมาสร้างความแตกต่างด้วยตราสินค้า (Branding Strategy) บวกกับการให้บริการที่เป็นเลิศ และการส่งมอบสินค้าให้ทันเวลา พอเข้ายุค 2000 การสร้างความแตกต่างจะมุ่งสู่เรื่องของประสบการณ์ อารมณ์ ความรู้สึกของลูกค้า (Customer Experience)

ตัวอย่างที่คลาสสิคในเรื่อง CEM คือ Lifestyle Coffee Bar นามว่า สตาร์บัคส์ เหตุใดผู้คนจึงโหยกระหายกาแฟแก้วละปริ่ม ๆ 100 บาท อะไรอยู่เบื้องหลัง กาแฟแก้วนี้ สตาร์บัคส์เริ่มแรกถือกำเนิดในปี 1971 ที่ USA ปัจจุบันมีสาขาทั่วโลกกว่า 13,100 แห่ง เหตุที่ขยายได้รวดเร็วเพราะความเป็นปัจจัยทางสังคมที่หลอมรวมกันกับปัจจัยธุรกิจ (Social Hub) หรือเป็น สถานที่ที่ผู้คนมามาสันทนาการยามว่าง (Community Connection) เหมือนเป็น Third Place คน Metro Life ที่มาพักพิงระหว่างวัน
Third Place จึงเป็น Social Hub ที่คนสมัยใหม่จะไป Hang Around ที่เกิดร้านกาแฟสมัยใหม่ เช่น Starbucks , True Life , Coffee World , 94๐ หรือ Coffee Mc Café ซึ่งร้านในรูปแบบ Social Hub จะตกแต่งบรรยากาศภายในผันแปรไปตาม Theme ของแต่ละ Brand สำหรับ Starbucks ได้วาง Concept เป็น Park of Daily Life ด้วยบรรยากาศอบอวลด้วยกลิ่นกาแฟ เสียงเพลงเบาๆ เพื่อ Inspire ตัวเอง นี่คือ ประสบการณ์สตาร์บัคส์

อีกแนวคิดที่กำลังเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมากที่สุดในวันนี้คือ CSR หรือ Corporate Social Responsibility ซึ่งเป็นการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อให้สาธารณชนเห็นว่าองค์กรไม่ได้หาแต่กำไร แต่ยังมีความรับผิดชอบต่อสังคม และผลตอบแทนคืนสู่สังคมอย่างเสมอต้นเสมอปลาย

CSR มีต้นกำเนิดจากแนวคิดที่ว่ากิจการต้องมีภาระที่ต้องดูแล Stakeholders และต้องมีพันธกิจลดความเหลื่อมล้ำของสังคม นั่นคือดูแลพนักงาน ลูกค้า ซัพพลายเออร์ ผู้ถือหุ้น ชุมชน หรือสังคม

CSR เป็นการสร้างเกราะป้องกันองค์กรที่ได้ผลที่ยั่งยืน เพราะผู้บริโภคสมัยใหม่ ไม่เพียงมองหาสินค้าที่เขาชื่นชอบเท่านั้น แต่ยังมองถึงปรัชญา แนวคิด วัฒนธรรมองค์กร ของเจ้าของสินค้านั้นด้วย ดังนั้น CSR จึงเป็นโครงการเพื่อสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทนเชิงธุรกิจ แต่เป็นดอกผลที่วัดไม่ได้โดยตรง นั่นคือความรู้สึกดีๆ หรือได้แนวร่วมจากคนในสัมคม ไม่เฉพาะลูกค้าขององค์กรนั้นๆ นั่นคือ CSR จะเป็นเสมือนกำแพงชั้นในสุดที่จะปกป้องแบรนด์ขององค์กรได้ในยามเกิดวิกฤตกับองค์กร



จาก : MMP Magazine ฉบับที่ 2

วิเคราะห์สถานการณ์ของบริษัทด้วย SWOT Analysis





วิเคราะห์สถานการณ์ของบริษัทด้วย SWOT Analysis

SWOT Analysis เป็นเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์จุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses) โอกาส (Opportunities) และภัยคุกคามต่างๆ (Threats)

ด้วยเครื่องมือนี้ จะช่วยให้คุณรับรู้จุดแข็งที่คุณมีอยู่, จุดอ่อนที่คุณควรต้องแก้ไขปรับปรุง, โอกาสที่ส่งผลดีต่องาน หรือธุรกิจของคุณ และอุปสรรคที่ขัดขวางธุรกิจของคุณ

1. Strengths (จุดแข็ง) ให้พิจารณาในประเด็นต่อไปนี้

- อะไรคือความได้เปรียบที่คุณมีอยู่
- คุณทำสิ่งต่างๆ ได้ดีขนาดไหน (เมื่อเทียบกับคู่แข่ง)
- ทรัพยากรอะไร ที่คุณสามารถเข้าถึงได้ (หรือหามาได้) ในขณะที่คู่แข่งของคุณไม่สามารถหาได้ หรือหามาได้ด้วยความยากลำบาก
- ประเด็นอื่นๆ ที่คุณเห็นว่ามันคือจุดแข็งสำหรับธุรกิจของคุณ

2. Weaknesses (จุดอ่อน) ให้พิจารณาในประเด็นต่อไปนี้

- อะไร คือสิ่งที่คุณ หรือคนรอบข้างของคุณเห็นว่าต้องปรับปรุง
- อะไร ที่คุณยังทำได้ไม่ดีนัก
- คู่แข่งของคุณ มีจุดแข็งในด้านไหนบ้าง (นั่นจะกลายเป็นจุดอ่อนของเรา)

3. Opportunities (โอกาส) ให้พิจารณาในประเด็นต่อไปนี้

- การเปลี่ยนแปลงภายนอก ที่มีผลดีต่อธุรกิจของคุณมีอะไรบ้าง
- แนวโน้มที่น่าสนใจที่คุณจะต้องคอยจับตาดู มีอะไรบ้าง

4. Threats (ภัยคุกคาม) ให้พิจารณาในประเด็นต่อไปนี้

- การเปลี่ยนแปลงภายนอกอะไรบ้าง ที่จะเป็นอุปสรรคกับธุรกิจของคุณ
- คู่แข่งของคุณ กำลังพยายามทำอะไรบ้าง ที่อาจส่งผลกระทบกับเราในอนาคต

ประเด็นในการวิเคราะห์ SWOT ดังกล่าวนี้ เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ผู้วิเคราะห์อาจเพิ่มเติมประเด็นอื่นๆได้อีก ตามสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และเราสามารถใช้ SWOT Analysis ในการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ได้ทั้งองค์กรของเราเอง และคู่แข่งของเรา

นอกจากนี้ในการทำ SWOT Analysis ยังมีเครื่องมือชิ้นหนึ่ง ที่จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์หาโอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) ได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เครื่องมือดังกล่าวเรียก PEST Analysis (บางแห่งเรียก STEP Analysis) โดย PEST นั้นประกอบไปด้วย

1. P – Political วิเคราะห์ผลกระทบจากการเมือง การปกครอง รวมถึงกฎหมายต่างๆ
2. E – Economics วิเคราะห์ผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจ และปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์
3. S – Social เป็นการวิเคราะห์ผลกระทบจากสังคม วัฒนธรรม สภาพความเป็นอยู่
4. T – Technology วิเคราะห์ผลกระทบจาก Technology หรือ Innovation อื่นๆ


ที่มา : http://www.thaitrainingzone.com

Resource:http://www.mmpchula.com

การตลาดเชิงสัมพันธ์ผูกพันกับการสร้าง Brand


Build Relationships ...
ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่องจาก:www.themarketingbuzz.co.uk


การตลาดเชิงสัมพันธ์ผูกพันกับการสร้าง Brand

การ ตลาดเพื่อสร้างความภักดีในหมู่ผู้บริโภคในปัจจุบันก็คือการตลาดเชิงสัมพันธ์ (Relationship Marketing) ซึ่งจะต้องอาศัยการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relations Management - CRM) เป็นเครื่องมือหลักในการทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ เกิดความภักดี มีการซื้อซ้ำอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นผู้ช่วยขายที่เราไม่ต้องจ่ายเงินเดือน เพราะลูกค้าที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับ Brand ย่อมพูดถึง Brand ในแง่ที่ดี และพร้อมที่จะเป็นลูกค้าที่ดีของ Brand ตลอดไป

การตลาดเชิงสัมพันธ์มีส่วนช่วยให้เราสามารถสร้าง Brand ที่แข็งแกร่งได้ เพราะตามหลักการแล้ว การตลาดเชิงสัมพันธ์จะมีลักษณะดังต่อไปนี้

* การตลาดเชิงสัมพันธ์คือการตลาดที่เราพยายามจะสร้างความผูกพันกับลูกค้า ด้วยการอาศัยความรู้เกี่ยวกับลูกค้าอย่างลึกซึ้งมาวางแผนยุทธศาสตร์ในการจูง ใจให้ลูกค้าซื้อสินค้า มีการสร้างความประทับใจให้ลูกค้า การอาศัย Customer Insight หรือการมีความรู้เกี่ยวกับลูกค้าอย่างลึกซึ้งมีความสำคัญสำหรับการสร้างความ สัมพันธ์ฉันใด ความรู้ดังกล่าวก็มีความสำคัญสำหรับการสร้าง Brand ฉันนั้น การรู้จักลูกค้าดีพอมีประโยชน์ที่จะนำมากำหนดกลยุทธ์ในการสร้างความสัมพันธ์ ฉันใด การรู้จักดังกล่าวก็มีประโยชน์ในการวางกลยุทธ์ในการสร้าง Brand ฉันนั้นเช่นกัน

* การขายเชิงสัมพันธ์ที่เป็นการขายแบบการให้คำปรึกษา (Consulting Sell) คือการขายในลักษณะของการเป็นเทวทูตแห่งข่าวดีที่จะนำเอาเรื่องราวดีๆของ สินค้ามาแนะนำให้ลูกค้าได้นำเอาไปพัฒนาคุณภาพของชีวิต การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นแนวทางในการตอกย้ำภาพลักษณ์ของ Brand แทนที่จะมุ่งเน้นการทำยอดขาย การตลาดเชิงสัมพันธ์จะเน้นการให้คำปรึกษาแก่ลูกค้า ให้ลูกค้าซื้อสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของเขาได้ดีที่สุด แก้ปัญหาให้แก่เขาดีที่สุด โดยการให้คำแนะนำที่จริงใจ รักษาผลประโยชน์ของลูกค้า ทำให้ลูกค้าไม่ผิดหวังกับการติดต่อซื้อขายกับ Brand ไม่ผิดหวังกับการที่ได้สินค้าภายใต้ Brand ดังกล่าวไปใช้แก้ไขปัญหาชีวิตที่มีอยู่ การกระทำเช่นนี้ย่อมทำให้ผู้บริโภคซาบซึ้ง Brand มอง Brand ด้วยความชื่นชม สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับ Brand

* การสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าอย่างต่อเนื่องย่อมก่อให้เกิดความไว้วางใจ และในการสร้าง Brand นั้นเรื่องของความไว้วางใจเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งนัก เพราะหากผู้บริโภคมีความไว้วางใจ Brand เขาก็จะใช้สินค้าภายใต้ Brand นั้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ Brand มีฐานะทางการตลาดที่มั่นคง การสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าคือการทำให้ลูกค้ามองว่าพนักงานของ Brand ทุกคนคือเพื่อผู้รู้ใจ และเป็นเพื่อนผู้หวังดี ที่จะนำเอาข่าวสารดีๆเกี่ยวกับ Brand มาเล่าให้ลูกค้าฟัง เพื่อให้ลูกค้ามีข้อมูลที่จะใช้ในการตัดสินใจซื้อสินค้า การมีข้อมูลของลูกค้า การซักถาม การพูดคุยอย่างคนที่รู้ใจว่าลูกค้าต้องการอะไร จะทำให้ลูกค้ามีความไว้วางใจ และกล้าตัดสินใจซื้อและใช้สินค้าที่อยู่ภายใต้ Brand ดังกล่าว

* การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าคือการแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าเราเป็นคนซื่อ สัตย์สุจริต ไม่เคยคิดหรือทำอะไรที่เป็นการหลอกลวงลูกค้า ดังนั้นลูกค้าจึงสบายใจที่จะทำธุรกิจกับเราต่อไปด้วยความรู้สึกผูกพันที่ดี ต่อกัน การสร้าง Brand ก็ต้องอาศัยความรู้สึกของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายที่จะมีความเข้าใจใน Brand เชื่อใจใน Brand เชื่อในข้อความเกี่ยวกับ Brand ที่สื่อสารผ่านวิธีการสื่อสารต่างๆ ดังนั้นการตลาดเชิงสัมพันธ์จึงเป็นแนวทางที่จะทำให้เรื่องราวของ Brand น่าเชื่อถือ คนเราเมื่อเชื่อใจกัน เมื่อมั่นใจว่าเป็นคนที่รักใคร่ผูกพันกัน หวังดีต่อกัน ย่อมไม่โกหกกัน การซื่อสัตย์กับลูกค้า พูดจริงกับลูกค้าเป็นแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ฉันใด การซื่อสัตย์กับลูกค้า พูดจริงกับลูกค้าก็เป็นแนวทางในการสร้างเสน่ห์ของ Brand ได้ฉันนั้น ถ้าหากผู้คนสงสัยเรื่องราวของ Brand ไม่ไว้ใจว่าสิ่งที่ Brand พูดคือความจริง การสร้าง Brand ก็ลำบาก หากคนมองการกระทำของ Brand ว่าเป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค Brand นั้นก็ไม่อาจจะเป็น Brand ในดวงใจของผู้บริโภคได้

* การสร้างความสัมพันธ์ของนักขายกับลูกค้าคือการที่นักขายสามารถแสดงให้ลูกค้า กลุ่มเป้าหมายมองเห็นว่าการเสนอขายคือการแนะนำสิ่งดีๆให้กับลูกค้าด้วยความ รักและห่วงใย เช่นเดียวกัน ข้อความในการสร้าง Brand ไม่ว่าจะสื่อออกมาอย่างไรต้องทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเราชวนให้เขาซื้อ สินค้าด้วยความรักและห่วงใย ไม่ใช่เพราะเราต้องการรายได้ พนักงานที่ขายของด้วยความกระหายค่านายหน้า ไม่มีความหวังดีกับลูกค้าจะไม่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า และลูกค้าจะไม่อยากพัฒนาความสัมพันธ์กับเขา การสร้าง Brand ก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากข้อความส่งไปยังลูกค้าเป็นการจูงใจที่ชัดเจนแจ่มแจ้ง ไม่ซ่อนเร้นเป็น Above-the-line communications ทั้งหมด ผู้บริโภคอาจจะมองว่าเรากระหายรายได้ เรามุ่งมั่นที่จะขายอย่างเดียว ไม่ได้ห่วงใยพวกเขาอย่างจริงใจ ดังนั้นในการจูงใจให้คนมั่นใจ Brand อาจจะต้องใช้การสื่อสารเพื่อการจูงใจที่แฝงเร้นการชักจูงที่แยบยล ฟังเหมือนคนเล่าเรื่องของ Brand ให้แก่ผู้บริโภคฟัง ให้ได้รับรู้เรื่องราวดีๆเกี่ยวกับ Brand ด้วยความห่วงใยผู้บริโภค Brand ที่ทำได้เช่นนี้เท่านั้น จึงจะสามารถเป็น Brand ในดวงใจของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง

โดย รศ.ดร. เสรี วงษ์มณฑา
ที่มา ผู้จัดการออนไลน์

Resource:http://www.mmpchula.com